กล่องข้อความ: ชุดฝึกอบรมครู : ประมวลสาระ          http://area.ge.go.th/phayao1/data/b07.doc  23/08/2546  

 

 

 

 

 


บทที่ 7

การวิจัยในชั้นเรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ดร.ไพจิตร  สดวกการ

ดร.ศิริกาญจน์  โกสุมภ์

 

 


คำนำ

หลักการสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาคือการกระจายอำนาจการบริหารการจัดการศึกษา การเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ซึ่งการดำเนินการให้บรรลุตามหลักการดังกล่าว จำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้นำชุมชนและผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้นำชุมชนและผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นยุทธศาสตร์หลักในการสร้างกลไกและเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายอำนาจให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างความเข้มแข็ง สร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกฝ่ายสามารถปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้นำชุมชนและผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้น

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการของโครงการพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้นำชุมชนและผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และได้แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานโครงการฯ ทำหน้าที่ประสานและส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประสานการจัดทำชุดฝึกอบรมต้นแบบ เพื่อเป็นคู่มือให้กลุ่มเป้าหมายได้ใช้ศึกษาและพัฒนาตนเอง

ชุดฝึกอบรมต้นแบบที่จัดทำขึ้นมีจำนวน 3 ชุด คือ (1) ชุดฝึกอบรมผู้บริหาร (2) ชุดฝึกอบรมครู และ (3) ชุดฝึกอบรมผู้นำชุมชน โดยชุดฝึกอบรมต้นแบบแต่ละชุด ประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ ในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ จะประกอบด้วย ประมวลสาระ และ แนวทางการศึกษา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำชุดฝึกอบรมต้นแบบดังกล่าวไปผลิตเพื่อเผยแพร่ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่รับผิดชอบ เพื่อใช้ในการศึกษาและพัฒนาตนเองต่อไป

เอกสารเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของสื่อสิ่งพิมพ์ในชุดฝึกอบรมครู ประกอบด้วยสาระสำคัญ 9 เรื่อง คือ

1.       หลักการจัดการศึกษา

2.       การพัฒนาวิชาชีพครู

3.       การกระจายอำนาจทางการศึกษา

4.       การประกันคุณภาพการศึกษา

5.       หลักสูตรสถานศึกษา

6.       การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

7.       การวิจัยในชั้นเรียน

8.       เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการเรียนรู้

9.       ครูกับการจัดการศึกษาของชุมชน

ในการจัดทำชุดฝึกอบรมดังกล่าว สำนักงานปฏิรูปการศึกษาในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการประสานงานโครงการฯ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งได้ร่วมกันอุทิศเวลา ความรู้ ความสามารถ ความวิริยะอุตสาหะ จนเสร็จสมบูรณ์ คณะกรรมการประสานงานโครงการฯ ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดี

 

 

 


(.ดร. ปรัชญา เวสารัชช์)

ประธานคณะกรรมการประสานงาน

โครงการพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา

ครู ผู้นำชุมชนและผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

มีนาคม 2545

 


สารบัญ

                                                                                                                                              หน้า

 

คำนำ

บทที่ 7    การวิจัยในชั้นเรียน                                                                                    1

เรื่องที่  7.1     แนวคิดของการวิจัยในชั้นเรียน                                                                  3

7.1.1   ความหมาย  ความสำคัญ  และประโยชน์ของการวิจัยในชั้นเรียน                               3

7.1.2   การวิจัยในชั้นเรียนกับการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้                                     5

เรื่องที่  7.2       วิธีการวิจัยในชั้นเรียน                                                                                                   7

7.2.1   จุดเริ่มต้นของการวิจัยในชั้นเรียน                                                                       7

7.2.2   รูปแบบและขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน                                                           7

7.2.3   ความเชื่อถือได้ของงานวิจัยในชั้นเรียน                                                             10

7.2.4   การเขียนสรุปรายงานการวิจัยในชั้นเรียน                                                          12

7.2.5   ตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียน                                                                             13

เรื่องที่  7.3    การใช้และการเผยแพร่ผลงานการวิจัยในชั้นเรียน                                                               25

7.3.1   การนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้                                                                   26

7.3.2   การเผยแพร่ผลงานการวิจัยในชั้นเรียน                                                              27

บรรณานุกรม                                                                                                                                                                         28


บทที่ 7

การวิจัยในชั้นเรียน

 

ความนำ

หลังจากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แนวคิด เรื่องการปฏิรูปการทำงานของครูให้มีความเป็นครูวิชาชีพ รวมทั้งการที่ครูต้องทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ได้มีการกล่าวถึงอย่างแพร่หลาย เพราะในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้  ด้กำหนดแนวทางการสนับสนุนให้ครูผู้สอนใช้กระบวนการวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ไว้ในหมวดที่ 4 ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา มาตรา 24 (5) มีใจความสำคัญดังนี้

“ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ”

และมาตรา 30 กล่าวว่า “ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา”

จากข้อความในพระราชบัญญัติ ดังกล่าวข้างต้น  ทำให้แนวคิด เรื่อง การที่ครูต้องศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล  และการพัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ  ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้เช่นกัน ในมาตรา 22 มีความเป็นจริงเป็นจังในแนวปฏิบัติ  เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้วยการใช้กระบวนการวิจัยในความหมายของการแก้ปัญหาแบบใหม่ การหาคำตอบแบบใหม่ โดยวิธีการที่เชื่อถือได้หรือวิธีการที่ยอมรับในศาสตร์นั้น ๆ (อุทุมพร (ทองอุไทย)  จามรมาน 2544 : 1) มากขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม  เมื่อกล่าวถึงคำว่า “การวิจัย” ในทางปฏิบัติ  ครูจำนวนมากยังมีความรู้สึกสับสน  เนื่องจากการรับรู้เดิมที่มีต่อการวิจัยที่ว่า การวิจัยเป็นเรื่องยุ่งยาก  เป็นงานหนักที่ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ในการทำงานสูง  ต้องทุ่มเทเวลาและความสามารถในการวิจัยมาก แม้จะได้รับข่าวสารจากการอบรม การประชุมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการหรือการศึกษาเอกสารเรื่องการวิจัยในชั้นเรียนว่า การวิจัยในชั้นเรียน   ไม่ใช่สิ่งที่แปลกแยกไปจากงานปกติในหน้าที่ของครู  ครูก็ยังสงสัยต่อไปอีกว่า  ในเมื่อเป็นงานที่ครูทำอยู่แล้ว  ทำไมจึงต้องมีการหยิบยกขึ้นมาเป็นจุดเน้นในการทำหน้าที่ของครูในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ บางทีการอุปมาอุปไมยต่อไปนี้  อาจจะช่วยทำให้ครูมีคำตอบที่กระจ่างต่อความกังวลนี้ได้ เช่น

ในการปฏิบัติ "อานาปานสติ" หรือ "สติกำหนดลมหายใจเข้าออก"  ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เป็นสิ่งที่มีผลดีต่อสุขภาพทางจิต และส่งผลกระทบไปถึงสุขภาพทางกายของผู้ปฏิบัติ  แต่ผู้ที่ยังไม่เข้าใจหรือยังไม่เคยประจักษ์ในผลดังกล่าวอาจจะยังสงสัยว่า  ทำไมจึงต้องทำ "อานาปานสติ"  ในเมื่อปกติคนที่ยังมีชีวิตทุกคนต้องหายใจเข้าออกอยู่แล้ว    ทำนองเดียวกับคำถามที่ว่า  ทำไมจึงต้องทำ "การวิจัยในชั้นเรียน"  เมื่อครูต้องทำหน้าที่จัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนที่ตนรับผิดชอบอยู่แล้ว

การทำ "อานาปานสติ"  ให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกของตัวเอง  สังเกตเห็นและมีวิธีการบังคับให้ลมหายใจมีลักษณะตามที่ต้องการอย่างมีระเบียบ กฎเกณฑ์   ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและกายมากกว่าการหายใจเข้าออกตามความเคยชินโดยไม่รู้ตัว  ฉันใด    การทำ "การวิจัยในชั้นเรียน"  ให้รู้ชัดในปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น  รู้สาเหตุของปัญหา   ศึกษาหาวิธีแก้ปัญหา  และดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ   ก็ย่อมส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพของการเรียนรู้ได้มากกว่าการจัดการเรียนรู้ไปตามความเคยชินโดยไม่ได้ตระหนักรู้ถึงปัญหาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง  ฉันนั้น

ดังนั้น การวิจัยในชั้นเรียน จึงเป็นกระบวนการที่จะช่วยให้ครูผู้สอนสามารถพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ของตนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ทำให้กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู มีความเป็นวิชาชีพและมีความเป็นศาสตร์ในวิธีวิทยาของการจัดการเรียนรู้มากขึ้น ดังที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ก็ได้กล่าวถึงเรื่องของ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ไว้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ความว่า การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับความถนัด  ความสนใจ  และความต้องการของผู้เรียน   โดยให้ผู้สอนนำกระบวนการวิจัยมาผสมผสานหรือบูรณาการ   ใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  สามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนแก้ปัญหาหรือพัฒนา การดำเนินการแก้ปัญหาหรือพัฒนา การเก็บรวบรวมข้อมูล การสรุปผลการแก้ปัญหาหรือการพัฒนา การรายงานผลการเรียนรู้ และการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ (กระทรวงศึกษาธิการ 2544 : 34) เป็นต้น

             


เรื่องที่ 7.1

แนวคิดของการวิจัยในชั้นเรียน

 

7.1.1   ความหมาย  ความสำคัญ  และประโยชน์ของการวิจัยในชั้นเรียน

 

1.        ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยในชั้นเรียนเป็นกระบวนการในการแก้ปัญหาหรือพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่ครูรับผิดชอบอย่างเป็นระบบ  เพื่อสืบค้นให้ได้สาเหตุของปัญหา  แล้วหาวิธีแก้ไขหรือพัฒนาที่เชื่อถือได้  เช่น การสังเกต จดบันทึก และวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนของครู และพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  เพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

 

2.         ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน

การแก้ปัญหาหรือการพัฒนาผู้เรียนในชั้นเรียนด้วยกระบวนการวิจัยที่ครูผู้สอนเป็นผู้ปฏิบัติ เป็นสิ่งที่จะให้ผลดีแก่ผู้เรียนมากกว่าการที่ครูแก้ปัญหาในชั้นเรียนของตนตามผลการวิจัยของผู้อื่น เนื่องจากครูผู้สอนเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้เรียนมากที่สุด ครูจึงย่อมรู้ธรรมชาติ  ภูมิหลังและสภาพแวดล้อมของผู้เรียนของตนดีกว่าผู้อื่น    แต่ครูก็ต้องพยายามศึกษา  ค้นคว้าหาแนวทางการแก้ปัญหาการเรียนการสอนที่ผู้อื่นทำวิจัยไว้  เพื่อนำมาเป็นฐานความคิดในการปรับนำไปใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนของตน   และจะได้รู้ถึงข้อควรระวังที่ผู้วิจัยคนก่อนได้นำเสนอไว้ เพื่อป้องกันความผิดพลาดซ้ำรอยเดิม   รวมทั้งควรปรึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ภายในโรงเรียน  หรือบุคคลภายนอกเพื่อปรับแนวคิดและประสบการณ์เหล่านั้น มาใช้เป็นแนวทางที่นำมาใช้แก้ปัญหาในชั้นเรียนของตนได้อย่างมั่นใจต่อไป

การวิจัยในชั้นเรียนจึงไม่ใช่สิ่งใหม่ที่แปลกแยกไปจากการพัฒนาการเรียนการสอนซึ่งเป็นงานในหน้าที่ของครูโดยทั่วไป และไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากเกินความสามารถของครู แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาการเรียนการสอนเป็นงานที่ต้องใช้เวลา  และต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง  การวิจัยในชั้นเรียนจึงไม่ใช่การวิจัยที่ทำเพียงครั้งเดียว  แต่ควรทำอย่างต่อเนื่องจนเป็นปกติของงานในหน้าที่ในการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนของครู

 

3.   ระโยชน์ของการวิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยในชั้นเรียนมีประโยชน์ต่อผู้เรียน  ครู  โรงเรียน  และวงการการศึกษา  ดังนี้

3.1 ประโยชน์ต่อผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนในชั้นเรียนมีความรู้ความสามารถพื้นฐานแตกต่างกัน ถ้าครูใช้รูปแบบการสอนเพียงแบบเดียวกับผู้เรียนทุกคน อาจทำให้ผู้เรียนบางคนไม่ได้รับการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา   ซึ่งอาจส่งผลกระทบไปถึงปัญหาอื่น  เช่น  จากปัญหาพฤติกรรมการเรียนส่งผลกระทบไปถึงปัญหาความประพฤติ  ส่งผลกระทบไปถึงครูวิชาอื่น  ครูที่รับช่วงในชั้นต่อไป  โรงเรียน  และสังคมโดยส่วนรวม    จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องพยายามวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา  แล้วคิดหาทางแก้ปัญหาจนสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนให้ดีขึ้น  พัฒนาผู้เรียนให้เกิดการใฝ่รู้  ใฝ่เรียน  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และไม่มีปัญหาการเรียนอีกต่อไป ซึ่งส่งผลไปถึงการขจัดปัญหาและผลกระทบอื่นๆ ด้วย

3.2          ประโยชน์ต่อครู ครูมีการวางแผนการทำงานในหน้าที่ของตนอย่างเป็นระบบ ได้แก่  วางแผนการเรียนการสอน  ออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน  ประเมินผลการทำงานเป็นระยะ  โดยมีเป้าหมายชัดเจนว่าจะทำอะไร  กับใคร  เมื่อไร  เพราะอะไร  และทำให้ทราบผลการกระทำว่า  บรรลุเป้าหมายได้อย่างไร  เพียงใด    ช่วยให้ครูเกิดความคิดริเริ่ม  สร้างสรรค์  ในการหาทางแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม  ได้นวัตกรรมที่ผ่านการปรับปรุงจนเป็นที่ยอมรับได้  และเกิดความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น สามารถอธิบายได้ว่าตนเองสามารถจัดการเรียนรู้ให้เกิดผลแก่ผู้เรียนเป็นรายคนและแต่ละคนอย่างไรบ้าง

3.3  ประโยชน์ต่อโรงเรียน ครูในโรงเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นทั้งภายในหมวดวิชา และระหว่างหมวดวิชา  มีการร่วมกันคิดแก้ปัญหา  ตั้งแต่การวิเคราะห์หาสาเหตุจนถึงการเขียนรายงาน การได้ระดมสรรพกำลังจากความถนัดของแต่ละคนจะทำให้งานวิจัยมีคุณภาพยิ่งขึ้น เช่น ครูคณิตศาสตร์ช่วยในเรื่องการคำนวณ  การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล  ครูบรรณารักษ์ช่วยดูแลการเขียนบรรณานุกรม  ครูภาษาไทยช่วยตรวจสอบการสะกดคำ  ครูภาษาอังกฤษช่วยด้านการอ่านเอกสารตำรา หรืองานวิจัยจากต่างประเทศ  เป็นต้น การศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ที่ครูรับผิดชอบอยู่ จะช่วยให้การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถวิเคราะห์สาเหตุและชี้ประเด็นปัญหาได้ชัดเจน  แก้ปัญหาได้ตรงจุด  เป็นการสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรกันทางวิชาการในโรงเรียน     และยกระดับมาตรฐานวิชาการของโรงเรียนให้สูงขึ้น

3.4 ประโยชน์ต่อวงการการศึกษา  ผลงานการวิจัยในชั้นเรียน สามารถนำมาเป็นข้อมูลในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนที่ครูแต่ละคนดำเนินการว่ามีความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร  ครูผู้สอนแต่ละคนจะประยุกต์นำไปใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียนของตนได้อย่างไร เป็นการสร้างสังคมทางการศึกษา และกระตุ้นให้มีการพัฒนาผลงานทางวิชาการที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์อันมีคุณค่าของครูอย่างไม่หยุดยั้ง  ทำให้วิชาชีพครูมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นที่ยอมรับของสังคมมากขึ้น

 


7.1.2    การวิจัยในชั้นเรียนกับการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้

เนื่องจากการวิจัยในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในส่วนของการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ดังนั้นการวิจัยในชั้นเรียนจึงควรดำเนินการให้สอดคล้องกับขั้นตอนการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบที่โรงเรียนทั่วไปใช้กันอยู่ คือ   ขั้นตอนการพัฒนาตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (P-D-C-A)  ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน (Plan)  การปฏิบัติการ (Do)  การตรวจสอบ (Check)  และการแก้ไขปรับปรุง (Action)  ส่วนการวิจัยในชั้นเรียน ประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานที่สำคัญ คือ  ศึกษาปัญหาในชั้นเรียน  จากนั้นเลือกปัญหาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนซึ่งมีความสำคัญในลำดับต้น ๆ มาแก้ปัญหา  ขั้นตอนของการแก้ปัญหาคือหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา     แล้วศึกษาหาวิธีการแก้ปัญหาที่คาดว่าสามารถนำมาใช้ได้ผล  ซึ่งอาจเป็นสื่อ เทคนิค วิธีการจัดกิจกรรม ฯลฯ  แล้วเลือกพัฒนานวัตกรรมหรือวิธีการที่เหมาะสม ตรวจสอบและปรับปรุง แล้วนำมาทดลองใช้   รวบรวมข้อมูลจากการทดลอง  ตรวจสอบ  วิเคราะห์  อภิปราย  และสรุปผลการทดลองให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม  ในกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างรีบด่วน  จะแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการวิจัยก็ไม่ทันการณ์  ครูก็สามารถศึกษาและนำผลงานวิจัยของครูคนอื่นที่ใช้แก้ปัญหาเดียวกันมาใช้แก้ปัญหาในชั้นเรียนของตนได้  ถือเป็นการบริโภคงานวิจัยอย่างคุ้มค่าวิธีหนึ่ง

 

วงจรการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้และวงจรการวิจัยในชั้นเรียนดังกล่าวข้างต้น จึงมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ดังแผนภาพต่อไปนี้


ภาพที่ 7.1  ความสัมพันธ์ระหว่างวงจรการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้และการวิจัยในชั้นเรียน

 

ดังนั้น กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนจึงบูรณาการอยู่ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้   เป็นงานของครูที่มุ่งศึกษากระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ได้ผลตรงตามความต้องการ และทันเหตุการณ์  จัดทำได้ง่าย  เป็นการวิจัยที่ครูผู้สอนจัดกระทำกับกลุ่มผู้เรียนที่ตนรับผิดชอบอยู่ ผลการวิจัยจึงไม่จำเป็นต้องสรุปอ้างอิงไปถึงผู้เรียนกลุ่มอื่น และไม่จำเป็นต้องใช้สถิติขั้นสูง เพราะการวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยที่ครูทำเพื่อแก้ปัญหาในชั้นเรียนของตนเอง และทำกับกลุ่มผู้เรียนกลุ่มเล็กที่ครูต้องการพัฒนาหรือแก้ปัญหาบางประการ บางเรื่อง เพื่อพัฒนา (ปรับปรุงผู้เรียนอ่อน เสริมผู้เรียนเก่ง) ผู้เรียนคนนั้น กลุ่มนั้น เพื่อจะได้เรียนทันเพื่อนกลุ่มใหญ่หรือได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพของเขา ( อุทุมพร (ทองอุไทย) จามรมาน 2544 :1)

 


เรื่องที่ 7.2

วิธีการวิจัยในชั้นเรียน

 

เนื่องจากการวิจัยในชั้นเรียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ครูใช้กระบวนการวิจัยในการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน จุดเน้นของการวิจัยในชั้นเรียนจึงอยู่ที่ขั้นตอนการทำวิจัยที่จะแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน ซึ่งได้แก่ การศึกษาถึงปัญหาและจุดที่ต้องการพัฒนา ศึกษาถึงสาเหตุของปัญหา ศึกษานวัตกรรมหรือวิธีการแก้ปัญหา สร้างและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ นำนวัตกรรมการเรียนรู้ไปใช้แก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือปัญหาการสอนของครู ประมวลผลการแก้ปัญหา สรุปผลการทดลองและเขียนรายงานเพื่อเผยแพร่

 

7.2.1    จุดเริ่มต้นของการวิจัยในชั้นเรียน

จากภาพที่ 7.1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างวงจรการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้และการวิจัยในชั้นเรียน จะเห็นว่าจุดเริ่มต้นของการวิจัยในชั้นเรียนเริ่มขึ้นที่การพบปัญหาจากขั้นการตรวจสอบของวงจรการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ซึ่งครูจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียนและปัญหาที่เกิดขึ้นจากขั้นการตรวจสอบนั้น ในกรณีที่ครูมีข้อมูลของผู้เรียนเกี่ยวกับปัญหาที่ตรวจพบอย่างเพียงพอและมีแนวทางว่าควรทำการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร  ก็สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการวิจัย  แต่ถ้าหากว่าครูยังมีข้อมูลไม่เพียงพอและยังไม่มีแนวทางที่จะแก้ไขปรับปรุง ก็จำเป็นต้องใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาช่วย  โดยการค้นหาข้อมูลอันเป็นสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข และทำการวิจัยให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานปกติ  โดยครูอาจเริ่มต้นด้วยงานวิจัยขนาดเล็กที่มุ่งแก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจง  เพื่อให้สามารถควบคุมกระบวนการวิจัยให้อยู่ในวิสัยที่ครูสามารถดำเนินการได้

 

7.2.2   รูปแบบและขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการนำรูปแบบกระบวนการวิจัยและพัฒนา  (Research and Development)  มาแก้ปัญหาของผู้เรียน โดยพัฒนากระบวนการเรียนรู้หรือนวัตกรรมที่เหมาะสมกับผู้เรียน ดังกรณีตัวอย่าง ต่อไปนี้

ในกรณีเมื่อครูพบว่าผู้เรียนในห้องเรียนมีปัญหาด้านการเรียนรู้ในกลุ่มประสบการณ์หรือวิชาใด วิชาหนึ่ง เฉพาะด้าน เช่น ทำโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่ได้หรืออ่านคำที่มีตัวสะกดบางมาตราไม่ได้ ครูอาจคิดนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียนเป็นรายคน รายกลุ่มย่อย นำไปทดลองใช้หรือให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้น แล้วนำมาแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน และสามารถแก้ปัญหาได้ การวิจัยแบบนี้จึงเป็นการวิจัยจากปัญหาในชั้นเรียนและแก้ปัญหาทันทีที่ครูพบปัญหา

ในกรณีที่ครูพบว่าผู้เรียนมีปัญหาด้านพฤติกรรมเป็นรายคน รายกลุ่ม หรือทั้งชั้น ครูอาจศึกษาผู้เรียนเป็นรายกรณี ซึ่งอาจจะเป็นรายคน รายกลุ่ม รายชั้น แล้วแก้ปัญหาให้ผู้เรียนจนเกิดพฤติกรรมใหม่ที่พึงประสงค์ที่คงทน ถือว่าครูได้ทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาด้านพฤติกรรมของผู้เรียนแล้ว

 

   ขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน    สามารถดำเนินการดังต่อไปนี้

  1. วิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน    การวิเคราะห์สภาพปัญหาในชั้นเรียนเป็นขั้นตอนสำคัญที่ครูต้องสำรวจว่า  มีอะไรเกิดขึ้น  สิ่งนั้นเป็นปัญหาหรือไม่    และหากสภาพที่เกิดขึ้นแสดงถึงปัญหาที่ต้องแก้ไขหลายประการ  ครูก็ต้องจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหาเหล่านั้น  โดยพิจารณาจากความรุนแรงของปัญหา  ว่าปัญหาใดควรได้รับการแก้ไขก่อน

ครูสามารถสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาได้หลายลักษณะ  เช่น วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแง่มุมต่างๆ ตรวจสมุดแบบฝึกหัด สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ศึกษาข้อมูลจากการประเมินของผู้ที่เกี่ยวข้อง  เป็นต้น  ครูจะพบปัญหา  ข้อสงสัยที่เกิดจากผู้เรียน  ครู  และกระบวนการเรียนการสอน  เช่น

-          ผู้เรียนมีความสามารถในการทำโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ต่ำ

-          ผู้เรียนไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์

-          ผู้เรียนไม่มีทักษะในการใช้เครื่องมือทดลองทางวิทยาศาสตร์

-          ผู้เรียนอ่านออกเสียงควบกล้ำ ร ล ไม่ชัดเจน

-          ผู้เรียนออกเสียงภาษาอังกฤษที่ลงท้ายด้วย  ch  sh  s  ไม่ถูกต้อง

-          ผู้เรียนยังไม่ได้ปฏิบัติตนเกี่ยวกับความรับผิดชอบให้เป็นนิสัย

-          ครูสอนอย่างเคร่งเครียด  ผู้เรียนไม่สนุกและไม่มีความสุขในการเรียน

-          ครูใช้สื่อไม่เหมาะสมกับวัย  วุฒิภาวะ และความสามารถของผู้เรียน

-          ครูไม่ได้จัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงด้วยตนเอง     

 

ปัญหาที่จะนำมาทำการวิจัยในชั้นเรียน  ควรมีความหมายและเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้  อยู่ในวิสัยที่ครูจะเป็นผู้ดำเนินการหาคำตอบได้   สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของครูผู้วิจัย  เช่น  ครูมีความสนใจและความถนัดในการจัดการเรียนรู้ด้วยการแสดงบทบาทสมมติ  เมื่อพบปัญหาการออกเสียงคำที่ลงท้ายด้วย  ch  sh  s  ก็นำกิจกรรมบทบาทสมมติมาใช้โดยบรรจุคำศัพท์ที่ลงท้ายด้วย ch  sh  s  ในบทที่ใช้ในการแสดง  จะทำให้ครูทำวิจัยด้วยความสนุก  เห็นประโยชน์  ความสำคัญ  และเกิดแรงจูงใจที่จะทำให้สำเร็จ    แต่ถ้าเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องรีบดำเนินการแก้ไข  เพื่อไม่ให้ลุกลามเป็นปัญหาใหญ่จนไม่สามารถแก้ไขได้  ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ครูไม่ถนัด  ครูก็ต้องศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ  เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหานั้นให้ได้

2. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา    เมื่อเลือกปัญหาได้แล้วต้องวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา  เพื่อจะได้แก้ปัญหาได้ตรงเหตุ  ปัญหาจึงจะได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงได้  สาเหตุของปัญหาอาจเกิดจากพฤติกรรม การสอน การใช้สื่อหรือการวัดผลของครู ทัศนคติ พื้นฐานภูมิหลัง นิสัยหรือพฤติกรรมของผู้เรียน ระดับความยากหรือปริมาณของเนื้อหาวิชา    หรือบรรยากาศการเรียนรู้ที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น ห้องเรียนคับแคบ ร้อน แสงสว่างไม่พอ แหล่งเรียนรู้สำหรับศึกษาค้นคว้าไม่เพียงพอ เป็นต้น

ในกรณีที่พบว่าสาเหตุของปัญหามีหลายสาเหตุ อาจเลือกสาเหตุที่มีความสำคัญซึ่งเป็นสาเหตุต้นตอของสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งถ้าแก้สาเหตุต้นตอได้  จะทำให้สาเหตุอื่นถูกกำจัดไปด้วย  และนำสาเหตุที่เหลือมาวิจัยต่อได้ตามช่วงเวลาต่าง ๆ   ทำให้เกิดการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง

  3. ศึกษา หาวิธีการในการแก้ปัญหา    เมื่อครูได้วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหาแล้ว เพื่อที่จะให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหา  ครูต้องศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง  เช่น  แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้  หลักสูตร  ตำรา  คู่มือ  ผลงานวิจัย  เพื่อครูจะได้ทราบว่าปัญหาที่คล้ายกับปัญหาที่ประสบอยู่นั้นมีผู้ใดศึกษาไว้บ้าง    ใช้วิธีใดในการแก้ปัญหา  ผลการแก้ปัญหาเป็นอย่างไร  จะทำให้ครูเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ชัดเจนขึ้น    ซึ่งอาจจะเป็นกิจกรรม   หรือสื่อช่วยการเรียนรู้  เช่น  กิจกรรมกลุ่มแบบต่าง ๆ   สถานการณ์จำลอง   บทเรียนสำเร็จรูป  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)    คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้  (CAL)  เป็นต้น

4. พัฒนานวัตกรรมหรือวิธีการแก้ปัญหา จากการศึกษาในขั้นที่ 3 ครูจะได้ทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ ซึ่งครูต้องศึกษาและออกแบบหรือพัฒนานวัตกรรม วิธีการ หรือสื่อช่วยการเรียนรู้ที่จะใช้ในการแก้ปัญหา (เช่น เด็กวัยรุ่นบางกลุ่ม หรือบางคน มองภาษาไทยเรื่องการแต่งกลอนว่าเป็นเรื่องที่คร่ำครึ ล้าสมัย ทำให้ไม่สนใจเรียน เป็นเหตุให้ไม่สามารถบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ในเรื่องการแต่งลอนได้ดีเท่าที่ควร ครูจึงศึกษาว่ามีวิธีการหรือสื่อที่ทันสมัยใดที่จะนำมาใช้ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนในเรื่องการแต่งกลอนได้ แล้วครูก็พบสื่อที่น่าสนใจชนิดหนึ่ง คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ซึ่งเป็นสื่อทันสมัยที่ครูคิดว่าน่าจะนำมาใช้ในการเปลี่ยนทัศนคติของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ ครูจึงลงมือศึกษาหลักการ การออกแบบการเรียนการสอน และเทคนิคทางคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาสร้างบทเรียน  แล้วลงมือพัฒนาบทเรียนตามที่ออกแบบไว้)  แล้วดำเนินการหาคุณภาพจากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ โดยนำนวัตกรรม วิธีการหรือสื่อต้นแบบที่พัฒนาขึ้นไปให้เพื่อนครู  ศึกษานิเทศก์  หรือนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา  ตรวจสอบความถูกต้อง  เหมาะสม  และให้ข้อเสนอแนะ  แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข  เตรียมนำไปใช้กับผู้เรียนของตน

5. นำนวัตกรรมหรือวิธีการแก้ปัญหาไปใช้    ครูนำนวัตกรรม  วิธีการหรือสื่อที่สร้างขึ้นในขั้นที่ 4  ไปใช้กับผู้เรียนของตน  โดยระบุขั้นตอนการดำเนินการอย่างชัดเจน   แล้วเก็บรวบรวมข้อมูล  เช่น  สังเกตและบันทึกพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียนก่อนใช้  เมื่อใช้เสร็จแล้วสังเกตและบันทึกพฤติกรรมอีกระยะหนึ่ง  เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความเปลี่ยนแปลงของผลที่เกิดขึ้น  โดยครูผู้วิจัยต้องสร้างเครื่องมือหรือกำหนดวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล  เช่น  ใช้แบบสังเกตพฤติกรรม  แบบประเมินการปฏิบัติงาน  แบบทดสอบ  เป็นต้น  รวมทั้งแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล

6.   ตรวจสอบและสรุปผล เมื่อรวบรวมข้อมูลได้แล้ว นำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยอาจใช้การแจงนับหรือเลือกใช้สถิติที่เหมาะสม  แล้วสรุปและอภิปรายผลการวิเคราะห์ข้อมูล    หากยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตามที่ต้องการ  ก็จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไข  โดยย้อนกลับไปตรวจสอบในขั้นต่างๆ แล้วนำกิจกรรมหรือสื่อที่ปรับปรุงแล้วไปใช้อีก  จนกระทั่งสามารถแก้ปัญหาได้ตามที่ต้องการ  เขียนสรุปผลการดำเนินงานตั้งแต่ขั้นที่ 1  ถึงขั้นที่ 5    ผลการวิจัยที่ได้ก็จะเป็นผลของการแก้ไขปรับปรุงในวงจรการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ด้วย    (เช่น  เมื่อครูนำบทเรียน CAI เรื่องการแต่งกลอนที่สร้างขึ้นในขั้นที่ 4  ไปใช้แล้ว  พบว่า  ผู้เรียนสามารถผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับฉันทลักษณ์ของกลอน  แต่ก็ยังไม่สามารถแต่งกลอนด้วยตนเองได้ในระดับที่พึงประสงค์  ครูก็ย้อนกลับไปตรวจสอบในขั้นต่าง ๆ  แล้วครูก็พบว่า  การใช้แต่สื่อ CAI  เพียงอย่างเดียวในการสอนเรื่องการแต่งกลอน  ไม่เป็นการเพียงพอ  เพราะคอมพิวเตอร์สามารถตรวจคำตอบของผู้เรียนจากการตอบคำถามที่อยู่ในบทเรียน CAI ได้     แต่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถตรวจผลงานกลอนที่ผู้เรียนแต่งเองได้    เพราะฉะนั้น  ครูจึงปรับแผนและสื่อการสอนใหม่  โดยใช้สื่อ CAI  ในลักษณะผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มในห้องเรียน  และผสมผสานกับการใช้อินเตอร์เน็ต  (Internet)  โดยครูเปิดเว็บบอร์ด  (Web board)  ที่แสดงภาพที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรยายเป็นกลอน หลังจากผู้เรียนศึกษาจากบทเรียน CAI และทำกิจกรรมกลุ่มแล้ว ผู้เรียนจะแต่งกลอนบรรยายภาพ ส่งเข้าไปไว้ในเว็บบอร์ด โดยครูได้เชิญเพื่อนกลอนทางอินเตอร์เน็ตมาช่วยตรวจ ให้คำติชม และคำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไข  ผลจากการแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้  ทำให้ผู้เรียนบรรลุเกณฑ์ความสามารถตามสภาพจริงในเรื่องการแต่งกลอนได้อย่างงดงาม  มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาไทยและยังสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร ฝึกทักษะทางสังคม และสืบค้นข้อมูลอีกด้วย  ศึกษาตัวอย่างการใช้สื่อการเรียนการสอนลักษณะนี้ได้จาก ครูภาทิพ ศรีสุทธิ์  อาจารย์ 3 ระดับ 8 ที่เว็บไซต์ http://203.146.150.99/useit รายการ "ตัวอย่างแผนการสอนวิชาภาษาไทย" หรือที่http://www.geocities.com/inno_thai รายการ "พบกับการใช้ CAI ร่วมกับ Webboard หรือที่  http://board.dserver.org/cgi-bin/index.pl?plearn   ซึ่งเป็นห้องเรียนสีชมพูของครูภาทิพ

 

7.2.3   ความเชื่อถือได้ของงานวิจัยในชั้นเรียน

งานวิจัยในชั้นเรียนเป็นงานวิจัยปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงวิธีปฏิบัติงานในสภาพจริงกับกลุ่มผู้เรียนที่ครูรับผิดชอบอยู่ ซึ่งอาจมีลักษณะไม่เหมือนผู้เรียนกลุ่มอื่น กระบวนการวิจัยก็มุ่งเน้นการดำเนินงานที่พยายามให้สอดคล้องกับสภาพการเรียนการสอนในชีวิตประจำวัน ดังนั้น จึงไม่สมควรนำมาตรฐานการประเมินงานวิจัยทั่วไปที่มุ่งสรุปผลไปยังประชากรมาใช้กับงานวิจัยในชั้นเรียน 

นักวิจัยปฏิบัติการจะให้ความสำคัญกับการนำผลไปปฏิบัติ  ดังนั้น  ความเชื่อถือได้ของงานวิจัยในชั้นเรียนจึงอยู่ที่ความสามารถในการชี้แนวทางการพัฒนาปรับปรุงการทำงานสำหรับครูผู้ปฏิบัติ

 

1.  กระบวนการในการทำวิจัยในชั้นเรียนให้น่าเชื่อถือ

การทำให้การวิจัยในชั้นเรียนมีความน่าเชื่อถือสูง  จึงมีกระบวนการ ดังนี้

1.1  ตัวครูเองต้องเป็นผู้ตีความหมายการปฏิบัติงานของตนเองอย่างไตร่ตรอง และตัดสินว่าจะปรับปรุงงานอย่างไรด้วยความตั้งใจ

1.2  เพื่อนร่วมงานช่วยไตร่ตรอง ตรวจสอบข้อมูล  เพื่อขยายความคิด และช่วยวิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้ได้ข้อสรุปและตีความหมายสิ่งที่ค้นพบจากหลักฐานที่แสดง โดยกระบวนการวิพากษ์วิจารณ์ที่มีคุณภาพต้องมีลักษณะสำคัญ 4 ประการคือ 

(1)   ต้องทำให้สิ่งที่พูดคุยกันเป็นเรื่องจริง   

(2)   มีความเข้าใจตรงกันในสิ่งที่กำลังอภิปราย   

(3)   มีความจริงใจ      

(4)   เรื่องที่นำมาถกกันควรอยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ปฏิบัติ    

1.3    ตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นซ้ำ  โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย และอาจมีการบันทึกเทปเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  เพื่อนำมาเป็นหลักฐานในการตรวจสอบภายหลังได้อีก

แนวคิดและขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน  เน้นการทำวิจัยควบคู่กับการปฏิบัติงานโดยไม่เน้นแบบแผนการวิจัยที่เคร่งครัด  ในการออกแบบการวิจัยในชั้นเรียนจึงให้ความสำคัญกับกระบวนการวิพากษ์วิจารณ์  และการตีความหรือแปลความหมายสิ่งที่ค้นพบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ  ความกระจ่าง  เกิดการขยายความรู้ความคิดของครูผู้ปฏิบัติ คุณภาพของงานวิจัยประเภทนี้จึงอยู่ที่การแสดงหลักฐานเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบผลการวิจัย กระบวนการที่ใช้ในการปรับปรุง  วิธีการแก้ไขแนวปฏิบัติของครูผู้วิจัย  และความสามารถในการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยที่กระบวนการตรวจสอบผลการวิจัยไม่ใช่การเขียนแสดงความชื่นชมผลงาน  การแสดงความยินดี  หรือการให้กำลังใจแก่ครูผู้วิจัย  แต่ต้องเป็นการเขียนที่ครูจะได้ประโยชน์ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น

 

2.  เกณฑ์การประเมินคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียน    ควรมีองค์ประกอบ 3  ประการ  ดังนี้

2.1 ระดับของการอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ การวิจัยในชั้นเรียนกำหนดปัญหาจากประสบการณ์และการปฏิบัติโดยครูผู้วิจัย  ซึ่งเป็นอิสระจากทฤษฎีอื่นๆ ดังนั้น เกณฑ์การประเมินในด้านนี้ คือ ข้อความที่เป็นจริง  (true statements)   ซึ่งมีความถูกต้อง  เหมาะสมตามสภาพจริง  น่าเชื่อถือ 

2.2 ระดับของการสร้างความกระจ่างในกลุ่มผู้ตรวจสอบผล ในกระบวนการแลกเปลี่ยนระสบการณ์และตรวจสอบข้อค้นพบกับเพื่อนร่วมงาน ขอบเขตของการสื่อสาร การอภิปรายร่วมกันต้องเปิดกว้าง และอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจร่วมกัน  เกณฑ์การประเมินในด้านนี้คือ ความเข้าใจตามสภาพจริง  (authentic insights)   

2.3  ระดับของการจัดระบบในการปฏิบัติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเลือกปัญหา วิธีการแก้ปัญหา การเผชิญกับบริบทของสังคมและการเมือง   เกณฑ์การประเมินในด้านนี้คือ  การตัดสินใจที่สุขุมรอบคอบว่าจะเลือกวิธีการแก้ปัญหาแบบใด  เพราะการวิจัยในชั้นเรียนเป็นการปฏิบัติจริง  ซึ่งต้องตอบสนองความเป็นปัจจุบันได้ทันที    ครูผู้วิจัยจึงต้องมีความรอบคอบในการเลือกและจัดระบบวิธีการปฏิบัติ

ครูผู้วิจัยในชั้นเรียนต้องไม่กังวลว่า งานวิจัยในชั้นเรียนของตนจะไม่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพดีเท่างานวิจัยของนักวิชาการ สิ่งที่สะท้อนคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียนของครูคือคุณภาพของผู้เรียนอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากนวัตกรรมหรือวิธีการที่ครูใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ข้อความรู้ที่ครูได้จากการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบและจัดเก็บอย่างเป็นหมวดหมู่ในแต่ละภาคเรียนที่ผ่านไป อาจทำให้ครูสามารถสร้างทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้อันเกิดจากการปฏิบัติงานของครูอย่างแท้จริง โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดอยู่กับกรอบแนวคิดเดิมเสมอไป

 

7.2.4   การเขียนสรุปรายงานการวิจัยในชั้นเรียน

การนำเสนอรายงานการวิจัยในชั้นเรียนสามารถจัดทำได้  2  แบบ  คือ

1.    รายงานการวิจัยที่เขียนตามแบบแผนการวิจัย  ส่วนใหญ่มีการนำเสนอที่มีรูปแบบตายตัว โดยมีหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้

1.1      บทนำ

ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา   คำถามวิจัย  กรอบความคิดของการวิจัย    วัตถุประสงค์ของการวิจัย   ขอบเขตของการวิจัย    นิยามศัพท์เฉพาะ    ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย    ข้อจำกัดของการวิจัย    ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

1.2     เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

1.3     วิธีดำเนินการวิจัย

 ประกอบด้วย เนื้อหาเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย  กลุ่มตัวอย่าง  เครื่องมือวิจัย  การเก็บรวบรวมข้อมูล    การวิเคราะห์ข้อมูล

1.4     ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1.5     สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล    อภิปราย    และข้อเสนอแนะ

1.6     บรรณานุกรม

1.7     ภาคผนวก

ครูผู้ทำการวิจัยในชั้นเรียนที่ต้องการเขียนรายงานการวิจัยแบบนี้  สามารถศึกษาตัวอย่างการเขียนได้จากรายงานการวิจัยทั่วไปของนักวิชาการ  คณาจารย์ หรือนิสิต  นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา

2.  รายงานการวิจัยที่เขียนตามขั้นตอนการสร้างสรรค์ของผู้วิจัย  เนื้อหาสาระของรายงานการวิจัยในชั้นเรียนเหมือนรายงานการวิจัยทั่วไป แต่มักนำเสนออย่างสั้นๆ ไม่ยึดรูปแบบตายตัว ขอเพียงให้มีสาระครบถ้วนทำให้เข้าใจสิ่งที่ศึกษา  ขั้นตอนที่ปฏิบัติ  และสิ่งที่ค้นพบ    นอกจากนี้  รายงานการวิจัยในชั้นเรียนที่ดี    ควรแสดงหลักฐานเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบ  วิพากษ์วิจารณ์    เพื่อเป็นข้อมูลยืนยันข้อสรุปที่ได้จากการวิจัย    เนื่องจากการวิจัยในชั้นเรียนอาศัยประสบการณ์ของผู้วิจัยและเพื่อนร่วมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาช่วยในกระบวนการวิจัย ซึ่งสามารถให้คำตอบที่นำไปสู่การปฏิบัติจริง  ดังนั้น การวิพากษ์วิจารณ์จากผู้มีส่วนร่วม  จะทำให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

 

7.2.5   ตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียน

โดยทั่วไปแล้ว การทำวิจัยในชั้นเรียนเป็นการทำงานของครู เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนที่ครูรับผิดชอบ  การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน จึงเป็นการบันทึกการทำงานของครูอย่างเป็นระบบ เพื่อจัดเก็บไว้เป็นแฟ้มสะสมงาน  เป็นร่องรอยหลักฐานในการทำงาน  เป็นเอกสารเพื่อการเผยแพร่แก่เพื่อนครูที่จะใช้เป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป หรือเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการเรียนการสอนเชิงวิชาการซึ่งกันและกันของครู   จุดเน้นของการทำวิจัยในชั้นเรียนจึงไม่ใช่เพื่อการอ้างอิงไปยังกลุ่มประชากรหรือเป็นการทำผลงานเพื่อเลื่อนตำแหน่งของครู  แต่เป็นการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของตนเอง สร้างสมประสบการณ์ และสะสมผลงานทางวิชาการ การทำงานวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นการบันทึกการทำงานของครู  เพื่อเผยแพร่แก่เพื่อนครู และทำในบริบทที่เป็นห้องเรียน โรงเรียน และชุมชนของครู  งานวิจัยที่ทำในบริบทที่แตกต่างกันจึงไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่างานวิจัยใดดีที่สุด หรือสมบูรณ์ที่สุด หรืองานวิจัยในชั้นเรียนใดน่าจะใช้เป็นตัวอย่างการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู  เพราะเป็นการทำวิจัยในชั้นเรียนที่มีบริบทที่แตกต่างกันดังกล่าว 

แต่เพื่อให้ครูได้ศึกษาแนวคิดการทำวิจัยในชั้นเรียนที่มีผู้ทำสำเร็จมาแล้วเพื่อเป็นตัวอย่างที่จะแสดงถึงวิธีการคิดและกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียนของครูที่มีวิธีการคิดและการทำวิจัยในชั้นเรียนแตกต่างกัน  เพื่อให้ครูเกิดความมั่นใจและเข้าใจตรงกันว่าในการทำวิจัยในชั้นเรียนนั้นไม่มีสิ่งที่ถูกหรือผิด     จะมีเพียงสิ่งที่เหมาะสมมากน้อยหรือไม่เท่านั้นเอง ถ้าครูใช้กระบวนการวิจัย กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการแก้ปัญหามาเป็นหลักการในการทำวิจัยในชั้นเรียนแล้วก็น่าจะแสดงว่าครูมีวิธีคิดอย่างเป็นระบบและเป็นการทำวิจัยในชั้นเรียนที่เหมาะสมได้ 

ตัวอย่างการวิจัยในชั้นเรียนที่นำเสนอนี้ เป็นตัวอย่างของการทำวิจัยในชั้นเรียนที่ไม่ใช่การวิจัยเชิงวิชาการ (Academic Research) ซึ่งเพื่อนครูสามารถศึกษาได้ง่ายจากห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง

แต่ขอนำเสนอตัวอย่างการวิจัยในชั้นเรียนที่ครูทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในชั้นเรียนของครู โดยจะนำเสนอในลักษณะของวิธีการคิดเพื่อเป็นแนวทางการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู  ไม่ใช่การยกตัวอย่างงานวิจัยโดยตรง  ซึ่งจากตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียนที่นำเสนอมานี้  มีทั้งงานวิจัยในชั้นเรียนที่ครูผู้สอนดำเนินการได้ราบรื่นและประสบความสำเร็จ และงานวิจัยที่ทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จทั้งหมด แต่ครูผู้ทำวิจัยก็ได้เสนอข้อสังเกตที่ทำให้สามารถแก้ไขปัญหานักเรียนของตนได้เพียงบางส่วน ไว้เป็นข้อสังเกตแก่ครูผู้สนใจการทำวิจัยในชั้นเรียน จะได้นำไปเป็นข้อคิดในการวางแผนการพัฒนานักเรียน เช่น ต้องดำเนินการกับนักเรียนเฉพาะกลุ่มที่มีปัญหา และมีจำนวนไม่มากนัก รวมทั้งควรทำในเวลาเรียน เพื่อไม่ให้เกิดภาระแก่ครูและผู้เรียนมากเกินไป เป็นต้น

นอกจากนี้ในงานวิจัยที่เป็นการศึกษารายกรณี เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมของนักเรียนที่มีปัญหาด้านอารมณ์ ซึ่งในบางกรณีอาจจะจำเป็นต้องให้นักจิตวิทยาเป็นผู้ให้การช่วยเหลือเด็ก แต่ในความเป็นจริงแล้ว นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอยู่เป็นจำนวนมาก  และกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ  โอกาสที่ผู้เรียนจะได้พบกับนักจิตวิทยาเป็นเรื่องยากมาก ครูผู้สอนจำเป็นที่จะต้องให้ความเชื่อเหลือเบื้องต้นแก่ผู้เรียน  ซึ่งพบว่าสามารถที่จะทำได้ดีพอสมควร ในกรณีที่เด็กไม่มีปัญหาทางด้านจิตใจรุนแรงมาก เพราะอย่างน้อยๆ ครูก็เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดเด็กและรู้จักเด็กเป็นอย่างดี ส่วนเด็กที่มีปัญหาทางด้านจิตใจมากจนครูไม่สามารถให้การช่วยเหลือได้ การส่งเด็กไปปรึกษานักจิตวิทยาก็เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยเหลือเด็กได้ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อครูพบผู้เรียนที่มีปัญหา ก็ต้องให้การช่วยเหลือด้วยวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมเป็นเบื้องต้น ก่อนที่จะให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษต่อไป

 

 


ตัวอย่างที่ 1

การวิจัยเรื่อง การใช้แบบฝึกในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ

 ของ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1

โดย นางจันฑิตา  กุศลวัฒนะ

อาจารย์ 2 ระดับ 7 โรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานี

สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองอุทัยธานี สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี

 

ข้อมูลพื้นฐานของผู้วิจัย : นางจันฑิตา  กุศลวัฒนะ เป็นผู้ที่เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนหลายครั้ง และตัดสินใจทำวิจัยในชั้นเรียนเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียนและผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยในชั้นเรียนหลายท่าน

 

วิธีการคิดและขั้นตอนการทำวิจัย ดำเนินการดังนี้

1.    ปัญหาในการวิจัย

ในการวัดผลระหว่างภาคเรียนและปลายภาคเรียนที่ 1 ผู้สอนพบว่า ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 /1 ขาดทักษะในการอ่านจับใจความในวิชาภาษาอังกฤษ ทำให้ไม่สามารถเล่าเรื่องราวหรือปะติดปะต่อเรื่องราวที่อ่านได้ถูกต้อง

2.    สาเหตุของปัญหา

ผู้สอนหาสาเหตุของปัญหา พบว่า ผู้เรียนยังขาดแบบฝึกทักษะในการอ่านจับใจความวิชาภาษาอังกฤษที่เหมาะสมกับวัยและความต้องการของผู้เรียน

3.    การแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหา

ผู้สอนศึกษาแนวคิดและหลักการสอนอ่านจับใจความวิชาภาษาอังกฤษจาก Internet  สรุปเป็นแนวทางในการสร้างแบบฝึกหัดการอ่านจับใจความและการฝึกอ่านจับใจความ ดังนี้

3.1   แบบฝึกหัดการอ่านจับใจความต้องใช้คำศัพท์ที่ผู้เรียนคุ้นเคย

3.2   การฝึกฝนการอ่านต้องเริ่มต้นตั้งแต่เด็กและควรฝึกทุกวัน

3.3   ควรมีภาพประกอบในแบบฝึกหัดที่ให้อ่าน

3.4   ควรให้ผู้เรียนอ่านเรื่องที่มีความสนุกสนาน

4.    การพัฒนานวัตกรรม

ผู้สอนได้สร้างแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยดัดแปลงจากหนังสือ Preparatory Comprehension for Primary One  Book 4 ของ Casco Publications Pte Ltd. ซึ่งมีทั้งหมด 63 เรื่อง ผู้สอนเลือกมา 20 เรื่อง โดยพิจารณาจากแนวทางในการสร้างแบบฝึกการอ่านจับใจความและการฝึกอ่านจับใจความข้างต้น แล้วนำมาสร้างเป็นแบบฝึกการอ่านจับใจความ และพิสูจน์ประสิทธิภาพของนวัตกรรม   โดยขอความร่วมมือจากครูที่สอนวิชาภาษาอังกฤษ  ศึกษานิเทศก์อำเภอและศึกษานิเทศก์จังหวัด ให้ช่วยอ่านเนื้อหาและตรวจสอบความเหมาะสมกับปัญหาของกลุ่มผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วผู้สอนนำความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นมาปรับปรุงแบบฝึก

5.    การนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียน

ผู้สอนนำแบบฝึกที่สร้างขึ้นมาใช้ฝึกผู้เรียนทุกคนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ในภาคเรียนที่ 2 เพราะต้องการให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านจับใจความวิชาภาษาอังกฤษดีขึ้น

6.    ผลการใช้นวัตกรรม

ผู้สอนได้ศึกษาผลการใช้นวัตกรรม 4  ด้าน คือ

6.1 คะแนนการสอบย่อยของผู้เรียนขณะทำแบบฝึกหัด พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการอ่านจับใจความดี

6.2 คะแนนผลการอ่านจับใจความของผู้เรียนหลังการเรียน พบว่า ความสามารถในการอ่านจับใจความของผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างดี

6.3 การศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรมการอ่านจับใจความ พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อกิจกรรม โดยเฉพาะในการที่สามารถตั้งชื่อเรื่องที่อ่านได้เอง การมีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เนื้อหาสนุกสนานเหมาะกับวัยเด็ก

6.4 การสังเกตความสนใจของผู้เรียนที่มีต่อการทำกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านจับใจความ พบว่า ในระยะแรกผู้เรียนสนใจร่วมทำกิจกรรม แต่ตอนหลังเมื่อแบบฝึกยากขึ้น ผู้เรียนเริ่มลดความสนใจในบทเรียนแต่ยังร่วมในกิจกรรมที่ครูจัดขึ้น

 

การจัดทำรายงานการวิจัย

ผู้สอนได้จัดทำรายงานการแก้ปัญหาการสอนอ่านจับใจความ วิชาภาษาอังกฤษ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ชื่อเรื่อง :  SPAN lang=TH style="FONT-SIZE: 16pt; FONT-FAMILY: AngsanaUPC">รายงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้แบบฝึกในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของผู้เรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6/1

2. เนื้อหาที่เขียนในรายงานการวิจัย : ผู้เขียนนำเสนอเป็นหัวข้อตามลำดับ ดังนี้

q       การสะท้อนความคิดก่อนปฏิบัติการ

q       ัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า

q       การวางแผนการปฎิบัติการ

q       การปฏิบัติการศึกษาทดลอง

q       การนำเสนอผลการทดลอง

q       สรุปและอภิปรายผลการทดลอง

q       อ้างอิง

q       ภาคผนวก

- แบบฝึกการอ่านจับใจความ 20 ชุด

3. บทวิเคราะห์ของผู้เขียน :

           จุดเด่นของงานวิจัยเรื่องนี้อยู่ที่ความพยายามของครู ที่จะนำนวัตกรรมที่มีหลักการในการสร้างมารองรับ มีการศึกษาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องแบบฝึกอย่างกว้างขวางและทันสมัยใช้ในการพัฒนางาน งานวิจัยเรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ดีในแง่ของการพัฒนานวัตกรรมโดยมีแนวคิดที่เหมาะสมมารองรับ

 

 

ตัวอย่างที่ 2

การวิจัย เรื่อง การพัฒนาการคิดของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ของนางอุไร  เที่ยงอยู่

 อาจารย์ 2 ระดับ 7 โรงเรียนบ้านวังทับยา  

สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองพิจิตร สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร

 

ข้อมูลพื้นฐานของผู้วิจัย : นางอุไร  วังทับยา เป็นผู้ที่สนใจในการคิดค้นหาวิธีการสอนที่เหมาะสมเพื่อที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละด้าน  และเป็นครูคนแรกที่ประกาศเผยแพร่ผลงานการวิจัยในชั้นเรียนของตนเอง ในวารสาร “สานปฏิรูป” ซึ่งทำให้ผู้เขียนสนใจและได้รับรายงานฉบับนี้ นางอุไร  วังทับยา เขียนว่า “ดิฉันได้จัดทำรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเรื่อง การพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ขึ้น (โดยไม่ยึดรูปแบบการวิจัย ปัจจุบันรายงานการวิจัยในชั้นเรียนเล่มนี้ได้รับการพิมพ์เผยแพร่โดยมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

 

วิธีการคิดและขั้นตอนการทำวิจัย ดำเนินการดังนี้

1.    ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ในช่วงสัปดาห์แรกของการเรียนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้สอนค้นพบว่าผู้เรียนมีความคุ้นเคยกับการเรียนรู้ด้วยการอ่านหนังสือเรียนสำเร็จรูปที่ซื้อจากสำนักพิมพ์ เพราะเวลาที่ครูเข้าห้องสอนผู้เรียนจะเปิดหนังสือเรียนทันที และมีความกล้าแสดงออกน้อยมาก ผู้เรียนส่วนใหญ่ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าพูด เวลาครูถามจะพูดตะกุกตะกัก ขาดความต่อเนื่อง เวลาที่ครูสอนโดยให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ ผู้เรียนไม่กล้าลงมือทำ ไม่สามารถคิดตัดสินใจเองได้ ครูต้องบอกให้ทำตามทีละขั้น ไม่คุ้นเคยกับการทำงานกลุ่ม

2.    สาเหตุของปัญหา

ผู้สอนหาสาเหตุของปัญหา พบว่า ผู้เรียนขาดทักษะในการคิด และขาดทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม

3.    การแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหา

ผู้สอนศึกษาหลักการและแนวคิดจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง คือ

3.1  แนวทางในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2533)

3.2   นโยบายการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

3.3   แผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 8  ( ..2540 - 2544) ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

3.4   แนวคิดเรื่องการสอนให้เด็กคิด

หลังจากศึกษาเอกสารแล้ว ผู้สอนได้สรุปเป็นความคิดของตนเองว่าต้องการพัฒนาการคิดของผู้เรียน ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต โดยการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิดแบบต่าง ๆ โดยเริ่มนำสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กมาเป็นเนื้อหาในการสอนที่เชื่อมโยงไปสู่การคิด

4.    การพัฒนานวัตกรรมและผลการใช้นวัตกรรม

              ผู้สอนได้สร้างนวัตกรรม แบบฝึกคิด ฝึกเขียน ฝึกเรียนที่บ้าน โดยดำเนินการดังนี้

4.1 การวางแผนดำเนินงาน ( Planning )

(1)          เข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาบุคลากรแกนนำเพื่อเป็นต้นแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร

(2)          สังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และบันทึกผลการสังเกต

4.2 การปฏิบัติการในชั้นเรียน (Action)

         ทำแบบฝึกคิด ฝึกเขียน ฝึกเรียนที่บ้านโดยออกแบบเป็นแผ่นกระดาษเปล่าและให้ผู้เรียนร่วมสร้างแบบฝึกกับครู โดยครูตั้งคำถามในเรื่องที่ผู้เรียนอยากรู้ แล้วให้ผู้เรียนนำกลับปฝึกคิดที่บ้าน ร่วมกับบุคคลในครอบครัวทุกวันตลอดปีการศึกษา 2543

4.3  การสังเกตประเมินผล (Observation)

(1)       ในท้ายชั่วโมงการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตครูซักถามให้ผู้เรียนสะท้อนความคิดจากคำถามที่นำกลับไปคิดที่บ้านร่วมกัน  ครูสังเกตการร่วมอภิปราย และจดบันทึก พบว่า ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะรับแบบฝึกคิด ฝึกเขียน ฝึกเรียนที่บ้านไปปฏิบัติ

(2)       การฝึกคิดในช่วงแรกผู้เรียนยังขาดทักษะในการคิด การเขียน จะตอบคำถามไม่ตรงประเด็น ผู้สอนนำประเด็นนี้มาร่วมคิดวิเคราะห์กับผู้เรียนในห้อง และเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขให้ผู้เรียน ในช่วงหลังกระบวนการคิดของผู้เรียนดีขึ้น มีการพัฒนาการเขียนหนังสือ การตอบคำถามที่ตรงประเด็น มากขึ้น

(3)       สิ่งที่ผู้สอนสังเกตพบจากพฤติกรรมการสนใจแบบฝึก คือ ผู้เรียนหลายคนชอบวาดภาพ ระบายสี ลงในแบบฝึกคิด ฝึกเขียน ฝึกเรียนที่บ้าน

4.4  การสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflection)

(1)          มอบหมายให้ผู้เรียนรวบรวมความคิดที่กลุ่มเพื่อนแสดงความคิดเห็นร่วมกันจัดทำเป็นรายงาน

(2)       สิ้นปีนำผลงานของผู้เรียนมาจัดแสดงให้ผู้ปกครอง ผู้เรียน เพื่อนผู้เรียน คณะครูในโรงเรียน และผู้ที่สนใจเข้าชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

5.  การจัดทำรายงานการวิจัย

ผู้สอนได้จัดทำรายงานการพัฒนาการคิดของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีรายละเอียดดังนี้

5.1 ชื่อเรื่อง :  รายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

5.2 เนื้อหาที่เขียนในรายงานการวิจัย : ผู้เขียนนำเสนอเป็นหัวข้อตามลำดับ ดังนี้

q     ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

q     การวางแผนการดำเนินงาน

q     การปฏิบัติการในชั้นเรียน

q     การสังเกตประเมินผล

q     การสะท้อนผลการปฎิบัติงาน

q     สารบัญตาราง

q     ภาคผนวก

- แบบฝึกคิดฝึกเขียนฝึกเรียนที่บ้านและแบบประเมินต่าง ๆ

- รายงานผลการจัดนิทรรศการของผู้เรียน

5.3 บทวิเคราะห์ของผู้เขียน :

งานวิจัยเรื่องนี้ผู้วิจัยเป็นผู้ที่มองเห็นปัญหาการไม่กล้าคิดหรือไม่กล้าแสดงความคิดเห็นของผู้เรียน จึงได้จัดทำแบบฝึกคิด ฝึกเขียน ฝึกเรียนที่บ้านขึ้น ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่พยายามให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการทำการบ้านกับผู้เรียน และพยายามทำวิจัยเรื่องนี้โดยนำกระบวนการ P A O R ที่มีนักวิชาการหลายท่านเสนอแนะให้เป็นกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาใช้

ตัวอย่างที่ 3

การพัฒนาผู้เรียน เรื่อง การย่อความ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2543

ของหมวดวิชาภาษาไทย

โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์

กองการศึกษาสงเคราะห์ กรมสามัญศึกษา

 

ข้อมูลพื้นฐานของผู้วิจัย : คณะอาจารย์หมวดวิชาภาษาไทย โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ มีความสนใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนด้านวิชาภาษาไทยหลายเรื่องและเรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ได้รับการเผยแพร่เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์

 

วิธีการคิดและขั้นตอนการทำวิจัย

              จากการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การย่อความ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ผู้วิจัยพบว่าในจำนวนผู้เรียนที่ส่งการเขียนย่อความในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 – 4/3 จำนวน 54 คน มีคนเขียนย่อความไม่ถูกต้องจำนวน 45 คน ครูจึงต้องการพัฒนาทักษะการเขียนย่อความของผู้เรียนทั้ง 45 คนนี้ โดยให้ผู้เรียนทำกิจกรรมตามลำดับ โดยกิจกรรมต้น ๆ ผู้สอนจัดเตรียมให้ กิจกรรมที่ 4 – 5 ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง เมื่อเปรียบเทียบความก้าวหน้าในการย่อความก่อนเรียนและหลังเรียน ดังนี้

รายการ

ก่อนเรียน(คน)

หลังเรียน(คน)

1. ไม่มีปัญหาการย่อความ

9

21

2. วางรูปแบบไม่ถูกต้อง

33

15

3. ย่อเนื้อเรื่องไม่ถูกต้อง

5

3

4. วางรูปแบบและย่อเนื้อเรื่องไม่ถูกต้อง

37

12

 

จากผลการทดลอง ผู้วิจัยได้ข้อสรุป ดังนี้

1.      การที่ให้ผู้เรียนประเมินการย่อความ รวมทั้งการให้ผู้เรียนฝึกย่อความที่ถูกต้อง เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีทักษะการย่อความเพิ่มมากขึ้น

2.      การให้ผู้เรียนได้ประเมินการย่อความจากสถานการณ์ที่กำหนดให้ ทำให้ผู้เรียนฝึกคิดและเขียนแนวทางการย่อความที่ถูกต้อง เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาและหาทางแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาการย่อความ

3.      ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการย่อความ สังเกตได้จากการค้นหาข้อความที่ต้องการย่อ

4.      ผู้เรียนย่อความจากเรื่องที่ต้องการได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

5.      ครูมีความภูมิใจที่สามารถทำให้ผู้เรียนที่มีปัญหาในการย่อความให้สามารถย่อความได้ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น

6.      ผู้เรียนที่ไม่มีปัญหาการย่อความเพิ่มขึ้นเพียง 12 คน อาจจะเนื่องมาจากสาเหตุดังนี้

6.1   เวลาที่ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมฝึกย่อความเป็นเวลาหลังเลิกเรียนแล้ว เวลา 15.30 – 16.20. ทำให้ผู้เรียนรีบกลับบ้าน กลัวรถติดทำให้มีเวลาเขียนน้อย

6.2    ผู้เรียนมาเรียนไม่ต่อเนื่องกัน บางวันมา บางวันไม่มา ทำให้ไม่เข้าใจขั้นตอนการย่อความที่ถูกต้อง

6.3   ผู้สอนรวมผู้เรียนที่มีปัญหาการย่อความมาฝึกพร้อมกันตั้งแต่ ม.4/1 – 4/3 ทำให้ผู้เรียนที่ฝึกมีจำนวนมาก ทำให้การดูแลและการให้คำแนะนำไม่ทั่วถึง

 

ตัวอย่างที่ 4

รายงานการศึกษาเด็กเป็นรายกรณี  เด็กหญิงเตย (จันทรารัตน์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

 ของนางสิริมา  กลิ่นกุหลาบ

อาจารย์ 3 ระดับ 9 โรงเรียนวัดไทรใหญ่

สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอไทรน้อย สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี

ครูต้นแบบสำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ ปี  2542

 

ข้อมูลพื้นฐานของผู้วิจัย : นางสิริมา กลิ่นกุหลาบเป็นครูที่มีผลงานการศึกษาเด็กเป็นรายกรณีค่อนข้างมากและเป็นผู้ที่ทำวิจัยในชั้นเรียนด้วยวิธีนี้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

ปัญหาทางพฤติกรรมของเตย

1 .    เตย มุมมองที่ครูพบ   

              ผู้สอนศึกษาพฤติกรรมของเตยโดยการสังเกต การบันทึกพฤติกรรม การศึกษาจากประวัติของเตย การสัมภาษณ์ แล้วสรุปสิ่งที่พบเป็นหลายหมวดหมู่ เช่น ด้านครอบครัว ด้านอารมณ์ ด้านการเรียน ด้านนิสัย ด้านความต้องการ ด้านร่างกาย ขอยกตัวอย่างสิ่งที่ครูสรุปจากการสังเกตด้านครอบครัว ด้านอารมณ์  ด้านการเรียน และด้านนิสัยของเตย ดังนี้

1.1  ด้านครอบครัว

q     อยู่กับยาย  ลุงส่งเงินให้เรียนหนังสือ

q     พ่อฟ้องหย่าแม่

q     พ่อมีภรรยาใหม่

q     แม่มีสามีใหม่ มีลูก

q     เมื่ออายุได้ 6 ปี  แม่เลี้ยงนำไปทิ้งไว้กลางทุ่งนา

q     ยายไปรับมาอยู่ด้วย

1.2   ด้านอารมณ์

q     เกลียดพ่อ

q     ใจน้อย เอาแต่ใจตนเอง

q     ท้ารบ ใจร้อน อารมณ์รุนแรง

q     ควบคุมอารมณ์ไม่ได้

q     ไม่ชอบความรุนแรงจากคนอื่น

1.3    ด้านการเรียน  

q       ชอบวิชาสังคมศึกษา  ไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์

q       เรียนรู้ได้ดีจากการค้นคว้า

q       ทำงานกลุ่มไม่ดี  ทำงานเดี่ยวได้ดีมาก

q       สมาธิสั้น

q       ชอบกีฬา

1.4    ด้านนิสัย

q       ชอบหนีเที่ยวห้างสรรพสินค้า

q       คบเพื่อนผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

q       ไม่มีระเบียบไม่อยู่ในกติกา

q       ทำตัวห้าวหาญเหมือนชาย

q       ชอบคบเพื่อนรุ่นน้อง ข่มขู่

q       หยิบของผู้อื่นโดยพลการ

q       ช่วยงานอาสาดีมาก ช่วยเพื่อนดี

2.    สรุปพฤติกรรมของเตย

เตยมีปัญหาด้านพฤติกรรม คือ เป็นคนค่อนข้างก้าวร้าว ชอบทะเลาะกับเพื่อน ทำร้าย แย่งของเพื่อนโดยการกระชากจากมือ ไม่เชื่อฟัง ต่อต้าน ชอบออกคำสั่ง ตะโกนเสียงดัง ชอบขโมย

3.  สาเหตุของปัญหา

จากการศึกษาประวัติและพฤติกรรมของเตย  ครูสรุปว่ามีสาเหตุมาจากปัญหาทางบ้าน  เพราะถูกทอดทิ้งจากพ่อ แม่  และแม่เลี้ยงตั้งแต่อายุ 5 ขวบ จนถึงปัจจุบัน

 

 

           ตัวอย่างการบันทึกพฤติกรรมของเตยบางตอน

“ ตอนเช้าสังเกตเห็นเตยใส่เสื้อผ้าไม่ถูกต้องตามระเบียบสอบถามได้ความว่าไฟไหม้ห้องพัก ตำรวจยังไม่ให้เข้าไปหยิบสิ่งของจึงไม่มีเสื้อนักเรียนใส่”

                                                                                                    ครูสิริมา  ครูประจำชั้น

           “หนูเกลียดผู้ชายทั้งโลก พ่อทำให้แม่เจ็บ หนูเกลียดพ่อ”

                                                                                                    เตย

           “หนูเกลียดวิชาเลข ครูไม่เข้าใจเด็ก ครูก็รู้ ครูคนอื่นหนูยอมหมดแล้ว แต่ครูเลขหนูรับไม่ได้ เขาน่าจะรู้หนูมีปัญหา ร้องไห้ไป รำพันไป”

                                                                                                    ครูสิริมากับเตย

4. ครูแก้ปัญหาโดยการปรับพฤติกรรมของเตย โดยใช้เทคนิค

4.1  การหยุดยั้ง 

เมื่อเตยมีพฤติกรรมก้าวร้าว ขว้างกล่องดินสอในห้อง ครูจ้องมองนิ่ง ๆ เมื่อเตยสงบลง ครูบอกว่าอย่างนี้จะน่ารักกว่ามาก

4.2  การแก้ไขให้ถูกต้องเกินกว่าที่ทำผิด ครูใช้วิธีปรับพฤติกรรม 2 วิธี คือ

(1)    ให้เก็บของให้เรียบร้อย หลังจากที่เตยมีอารมณ์ดีขึ้นแล้ว เพราะเตยมีอารมณ์รุนแรงมาก ถ้าสั่งขณะเกิดเหตุจะมีปฏิกริริยาตอบโต้รุนแรงกว่าเติมมาก

(2)     ให้จัดห้องเรียนให้เรียบร้อย เป็นการลงโทษให้ทำงานเพิ่มขึ้น

              4.3  การทำสัญญากับเตย

เมื่อเหตุการณ์สงบลง ครูขอพบเป็นการส่วนตัว ถามสาเหตุของการกระทำที่รุนแรงขว้างปาสิ่งของ จากนั้นขอสัญญาจะไม่ทำอีก

4.4 ให้ความเป็นกันเอง  ความรักความอบอุ่น

ดูแล เอาใจใส่ โอบไหล่ พูดคุยด้วย เตยยอมเรียกครูประจำชั้นว่าแม่ เข้ามากอด ครูถือโอกาสอบรม ปลูกฝังความเป็นคนดี มีสติ การใช้เหตุผล

  ตัวอย่างการบันทึกพฤติกรรมของเตยของครูประจำชั้น

                 “ วันนี้เตยมากอด ซบอยู่  ถามว่าแม่ไปไหนเมื่อวานไม่พบเลย"  เด็กเปลี่ยนทีท่าอ่อนโยนลง

                                                                                      ครูสิริมา ครูประจำชั้น ป. 6/1

5.     ผลของการปรับพฤติกรรม

              เตยมีความก้าวร้าวลดลง มีเพื่อนมากขึ้น รับผิดชอบงานดีขึ้นระดับหนึ่ง ตั้งใจทำงานให้สำเร็จแต่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นหัวหน้ากลุ่ม ชอบทำงานกับผู้เรียนชายมากกว่าผู้เรียนหญิง โดยให้เหตุผลกับครูว่าเพื่อนผู้ชายไม่เรื่องมาก

              แต่พฤติกรรมของเตยที่ดีขึ้นไม่คงทน นาน ๆ ครั้งจะก้าวร้าวอีก ถ้ามีเหตุการณ์กระทบใจ ห้องเรียนสงบขึ้นกว่าเดิมจนสิ้นปีการศึกษา

6.    พฤติกรรมของเตยหลังจากปรับพฤติกรรม และเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

q       เลิกเกลียดผู้ชาย มีแฟน

q       เล่นกีฬา

q       ยิ้มแย้มแจ่มใส

q       ไม่ยอมใคร

q       ปกป้องเพื่อน

q       พบกระเป๋าสตางค์นำไปมอบให้ครู

7.    การเขียนรายงานการวิจัย

7.1 ชื่อเรื่อง : รายงานการศึกษาเด็กเป็นรายกรณี เด็กหญิงเตย (จันทรารัตน์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

7.2 หัวข้อการเขียนรายงาน

q       ปัญหาทางพฤติกรรม เตยมุมมองที่ครูพบ

q       ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม

q       วิธีศึกษา

q       ภาพฉายของเตย (การบันทึกพฤติกรรม คำพูด และการแสดงออกของเตย ที่ครู  ผู้สอนสังเกตเห็นหรือมีเพื่อนครู หรือเพื่อนของเตยมาเล่าให้ครูฟัง)

q       กระบวนการปรับพฤติกรรม

q       ภาพฉายของเตยหลังการปรับพฤติกรรม

q       ภาพฉายของเตยหลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

7.3 บทวิเคราะห์ของผู้เขียน :

           การศึกษารายกรณีเรื่องนี้  ผู้ทำวิจัยมีการศึกษาข้อมูลของเตยอย่างรอบด้าน  แม้แต่ข้อมูลที่เป็นคำบอกเล่าของเพื่อนครู หรือของผู้เรียนบางคนที่ใกล้ชิดกับเตยก็จะถูกผู้วิจัยบันทึกไว้ เป็นแบบบันทึกสั้น ๆ ในวันที่ได้รับข้อมูล ซึ่งจากการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบนี่เอง ทำให้ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ปัญหาของเตยและแก้ปัญหาให้เตยได้ในระดับหนึ่ง ส่วนการทำรายงานการวิจัยผู้วิจัยเขียนเป็นรายงานสั้นประมาณ 6 หน้า และนำเสนอเป็นภาพฉายและแผนผังมโนภาพ ทำให้สามารถเปรียบเทียบพฤติกรรมของเตยก่อนการปรับพฤติกรรมและหลังการปรับพฤติกรรมชัดเจนขึ้น

             


เรื่องที่ 7.3

การใช้และการเผยแพร่ผลงานการวิจัยในชั้นเรียน

 

เนื่องจากการทำงานวิจัยในชั้นเรียนเป็นกระบวนการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนของครูเป็นการสร้างความรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการพัฒนานวัตกรรมที่หลากหลายของครู โดยที่ครูแต่ละคน และผู้เรียนแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มจะมีลักษณะแตกต่างกัน ผลการแก้ปัญหาของครู ความรู้ที่ครูพบจากการทำวิจัยในชั้นเรียน หรือแม้แต่นวัตกรรมที่ครูใช้และได้จากการวิจัยในชั้นเรียนต่างก็เป็นประโยชน์สำหรับครูในกลุ่มอื่นที่พบผู้เรียนที่มีปัญหาเดียวกันหรือต้องการพัฒนาจะได้เลือกไปใช้กับผู้เรียนของตนเอง ครูไม่จำเป็นต้องหาวิธีการแก้ปัญหาของตนเองใหม่ทุกครั้ง การศึกษา การเผยแพร่หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยในชั้นเรียนซึ่งกันและกัน จะทำให้ครูมีมุมมองในการทำงานและการแก้ปัญหาในชั้นเรียนที่หลากหลายจากประสบการณ์ของความเป็นครูที่สั่งสมกันมา มีความมั่นใจที่จะคิดริเริ่มแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางของตนเองเพิ่มขี้น มีความภูมิใจในวิชาชีพความเป็นครูของตนเองมากขึ้น และที่สำคัญ คือ ครูจะมีผลงานการสร้างความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น และมีฐานะของการเป็นครูที่ใช้ความรู้ที่ตนเองสร้างขึ้นร่วมกัน มาพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนของแต่ละคนมากกว่าการนำความรู้ที่ลอกแบบหรือจำมาจากนักวิชาการหรือผู้ที่ไม่มีประสบการณ์การเป็นครูมาใช้สอน หรือการนำนวัตกรรมต่างประเทศมาใช้โดยไม่คำนึงถึงบริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทย

 

7.3.1   การนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้

ครูสามารถนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ได้ในหลายลักษณะ คือ

1. การแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพและเป็นไปตามธรรมชาติ ผู้เรียนในแต่ละห้องเรียนหรือชั้นเรียนหรือรายคนต่างก็มีปัญหา มีศักยภาพในการเรียนรู้แตกต่างกัน มีความถนัด มีความสามารถและมีธรรมชาติของตนเองแตกต่างกันไปด้วย การวิจัยในชั้นเรียนจะช่วยให้ครูสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัย การแก้ปัญหา หรือการพัฒนา หรือการปรับพฤติกรรมผู้เรียนมาใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้  และงานวิจัยในชั้นเรียนที่หลากหลายที่ครูทำขึ้น ก็จะช่วยให้ครูมีนวัตกรรมที่จะเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนได้มากขี้น

2. การสร้างองค์ความรู้ของครูเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาหรือการแก้ปัญหาของผู้เรียน หากครูทำงานวิจัยในชั้นเรียนอย่างมีระบบจะทำให้ได้ผลงานที่มีความหนักแน่น สามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของตนเองได้ เช่น ครูที่ทำวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาหรือการแก้ปัญหาการอ่านสะกดคำด้วยนวัตกรรมต่างๆ หากครูทำอย่างต่อเนื่อง ใช้นวัตกรรมในการแก้ปัญหาแต่ละครั้งแตกต่างกันออกไป เช่น ใช้แบบฝึก หรือ บทเรียนโปรแกรม หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือการให้ผู้เรียนสร้างบัตรคำการอ่านสะกดคำที่ตนเองอ่านไม่ได้มาฝึกอ่าน หรือครูกับผู้เรียนช่วยกันทำหนังสือเล่มเล็ก หรือหนังสือเสริมการอ่านมาฝึกให้ผู้เรียนอ่านสะกดคำ ก็จะทำให้ครูได้ชุดของนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำของผู้เรียน ทำให้ครูมีองค์ความรู้ที่จะใช้สอนผู้เรียนหรือแก้ปัญหาของผู้เรียนหรือพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการอ่านสะกดคำได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียนเป็นรายคน และมีนวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพไว้ใช้ในการสอน การพัฒนาหรือการแก้ปัญหาของผู้เรียน เป็นองค์ความรู้ที่ครูสร้างขึ้นจากพื้นฐานของผู้เรียนของตนเอง ซึ่งครูก็สามารถสร้างและพัฒนาชุดนวัตกรรมนี้ให้มีคุณภาพต่อไปได้   และบทเรียนจากการสร้างองค์ความรู้ที่ใช้สอนเรื่องการอ่านสะกดคำนี้ยังช่วยให้ครูได้แนวทางในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยสามารถนำบทเรียนและประสบการณ์การทำวิจัยในชั้นเรียนช่วงต้น ๆ นี้ ไปใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้เรื่องใหม่ของครูต่อไปได้  ครูก็จะเป็นผู้สร้างองค์ความรู้และใช้องค์ความรู้ที่ตนเองสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการสอน การพัฒนา การแก้ปัญหาให้กับผู้เรียนของตนเอง เป็นผู้ผลิตความรู้ไม่ใช่ผู้ใช้ความรู้ของผู้อื่นมาสอนผู้เรียนของตนเองเพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป

3. การพัฒนาครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียนไปสู่ความเป็นครูนักวิชาการและครูมืออาชีพ  จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ที่กำหนดให้ครูต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทำให้ครูมีความจำเป็นต้องทำงานของตนเองให้มีระบบ  เช่น ต้องพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลดีมากที่สุด  คือ มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของชุมชนมากที่สุด   หรือสามารถพัฒนาผู้เรียนให้ได้คุณภาพตามความต้องการของผู้ปกครองและชุมชนมากที่สุด  จากการที่ครูต้องจัดการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความสามารถในการพึ่งพา ตนเอง สามารถคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณได้  ทำให้ครูต้องพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองในการสร้างความรู้ หรือการพัฒนาประสบการณ์ของตนเองมาเป็นวิธีการในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนอย่างมีระบบ ซึ่งวิธีการที่ครูควรจะต้องนำมาใช้คือการทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาตนเองสู่ความเป็นครูมืออาชีพ

4. การพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก ทำให้ครูจำเป็นต้องใช้ผลการวิจัยในชั้นเรียนมาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน  เพราะครูต้องพัฒนาผู้เรียนรอบด้าน ทั้งในแง่ของการเรียนรู้ตามหลักสูตรและการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของสังคมในแง่ของการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม คือ การเป็นคนดี คนเก่ง คนมีความสุข และภาคภูมิใจในความเป็นไทย ซึ่งผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ทักษะในการดำรงชีวิตบางประการ เช่น ทักษะการคิดแบบต่าง ๆ ทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และที่สำคัญ คือ การมีทักษะในการพึ่งพาตนเอง  ทักษะในการเป็นผู้ผลิตงานมากกว่าการเป็นผู้บริโภคงาน รวมทั้งมีทักษะในการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนางานด้วย

 

 

 

 

 

7.3.2    การเผยแพร่ผลงานการวิจัยในชั้นเรียน

การเผยแพร่งานวิจัยในชั้นเรียนของครูสามารถทำได้หลายลักษณะ ซึ่งในที่นี้ ขอจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของครูที่ทำวิจัยในชั้นเรียนและส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1. ส่วนของครูที่ทำงานวิจัยในชั้นเรียน ครูที่ทำงานวิจัยในชั้นเรียนสามารถเผยแพร่งานวิจัยของตนเองได้หลายทาง เช่น

1.1  การเผยแพร่โดยใช้เอกสาร สิ่งพิมพ์ เช่น การส่งรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของตนเองให้ผู้ที่สนใจแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ หรือการปรับพฤติกรรมของผู้เรียนร่วมกัน

1.2   เขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนใหม่ให้เป็นรูปแบบของบทความหรือเรื่องเล่าหรือการเล่าประสบการณ์ เพื่อส่งไปเผยแพร่ทางวารสาร ทางรายการวิทยุหรือโทรทัศน์เพื่อการศึกษา หรือคอลัมน์ที่เกี่ยวกับงานทางการศึกษาหรือทางวิชาการต่างๆ

1.3  การสร้างเครือข่ายเพื่อนครูนักวิจัยในชั้นเรียน เพื่อช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการวิจัยในชั้นเรียนร่วมกัน

2. ส่วนที่เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานต้นสังกัดระดับโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน อำเภอ จังหวัด กรม กระทรวง สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ รวมทั้ง หน่วยงานภาคเอกชน เช่น องค์กรพัฒนาเอกชนที่สนใจการพัฒนาการศึกษา ชมรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา  ควรให้การสนับสนุนการวิจัยในชั้นเรียนของครูโดยการจัดเวทีให้ครูได้เผยแพร่งานวิจัยในชั้นเรียนของตนเองโดยการจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น

2.1 การเสวนาเชิงวิชาการกลุ่มเล็กในพื้นที่ เพื่อให้ครูนำผลงานการวิจัยในชั้นเรียนของตนเองมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานและการทำวิจัยในชั้นเรียนร่วมกัน

2.2 จัดประชุมเชิงวิชาการเพื่อการนำเสนอผลงานการวิจัยในชั้นเรียน เป็นเรื่องเฉพาะด้าน หรือเป็นระดับชั้น หรือนำเสนอรวมกันทั้งหมด การนำเสนอเฉพาะด้าน เช่น

(1)      ด้านการศึกษาผู้เรียนเป็นรายกรณีและการปรับปรุงแก้ไข

(2)    ด้านการพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มวิชาต่าง ๆ เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์   ศิลปะ สุขศึกษาและพลศึกษา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ เป็นต้น

(3)    การนำเสนอเป็นระดับชั้น เช่น ระดับปฐมวัย  ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายระดับอาชีวศึกษา

2.3 ารจัดตั้งศูนย์หรือสถาบันการพัฒนาการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียนของครูและเป็นแหล่งเผยแพร่งานวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยครูที่ทำผลงานการวิจัยสามารถส่งงานมาเผยแพร่ในศูนย์หรือสถาบันแห่งนี้  ในขณะเดียวกันครูที่ต้องการศึกษางานวิจัยในชั้นเรียนก็สามารถมาศึกษาที่ศูนย์หรือสถาบันแห่งนี้ได้ โดยอาจจัดทำเป็นศูนย์หรือสถาบันในระดับกลุ่มโรงเรียน อำเภอ จังหวัด หรือระดับชาติก็ได้


บรรณานุกรม

 

กระทรวงศึกษาธิการ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว 2542

กรมวิชาการ  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์  2544

กองวิจัยทางการศึกษา  กรมวิชาการ   วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้   พิมพ์ครั้งที่ 1  กรุงเทพมหานคร  โรงพิมพ์การศาสนา  2542

จันทรา  เลิศศิริ การวิจัยในชั้นเรียนรายวิชาภาษาไทย  ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร  สุวีริยาสาสน์ และ ชมรมเด็ก  ...

จันทิตา  กุศลวัฒนะ  รายงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ การใช้แบบฝึกในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1  โรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานี อุทัยธานี สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองอุทัยธานี สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี  2544

วันทยา  วงศ์ศิลปภิรมย์  ชูศรี  วงค์รัตนะ และศิริกาญจน์    โกสุมภ์  การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้  กรุงเทพมหานคร  สำนักพิมพ์ทิปส์พับบลิเคชั่น  2544

สิริมา  กลิ่นกุหลาบ  รายงานการศึกษาเป็นรายกรณี : เด็กหญิงเตย ( จันทรารัตน์ ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1  โรงเรียนวัดไทรใหญ่  นนทบุรี สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอไทรน้อย สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี  2543

สุวิมล  ว่องวาณิช  การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน  (Classroom Action Research) พิมพ์ครั้งที่ 3  รุงเทพมหานคร  โรงพิมพ์อักษรไทย  2544

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน :
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้  เอกสารลำดับที่ 39/2544  กรุงเทพมหานคร สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา  2544

หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา  ชุดฝึกอบรมด้วยตนเองเรื่องการวิจัยในชั้นเรียน      พิมพ์ครั้งที่ 2  กรุงเทพมหานคร   โรงพิมพ์การศาสนา  2544

หน่วยศึกษานิเทศก์  เขตการศึกษา 5 กรมสามัญศึกษา   เอกสารวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเขตการศึกษา 5    พิมพ์ครั้งที่ 2   ราชบุรี  หน่วยศึกษานิเทศก์  กรมสามัญศึกษา  เขตการศึกษา 5   2544

อุไร  เที่ยงอยู่  รายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนบ้านวังทับยา พิจิตร สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองพิจิตร สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร  2544

อุทุมพร  จามรมาน การวิจัยของครู (Action Research) เล่มที่ 15 มปท. 2538

อุทุมพร (ทองอุไทย)  จามรมาน การวิจัยในชั้นเรียนและในโรงเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน    เล่มที่ 22 กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์ฟันนี่  2544